อุติ่งงาแกะ
"อุติ่ง" เป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ แกะเขากวางอาธรรพ์ประเภทเขากำจัดเขากำจาย เครื่องรางมรดกตำนานแห่งแดนล้านนาที่ชนชาวไทใหญ่หวงแหนมากที่สุด ...อูติ่ง เป็นตัวละครในชาดก(ของไทใหญ่) เป็นเจ้าชายรบเก่ง ไปตีเมืองใดก็ได้ธิดาเมืองนั้นมา คือรบชนะทุกรายการ (สำนวนเขาว่า ไปหนึ่งกลับมาสอง) ถ้าค้าขายก็ได้กำไร ไปหานางก็ได้นางมาทำนองนั้น ...การปลุกเสกอูติ่ง เมื่อจำเป็นต้องใช้อูติ่งเพื่อการได้ ต้องให้ช่างแกะรูปดังว่า แล้วเอาใส่ในถ้วย ครูหมอผู้ปลุกเสกต้องเข้าไปอยู่ในป่า ขัดราชวัตร แล้วเสกเนิ่นนาน จนสัมฤทธิผล ได้ยินเสียงโขลงช้างดังกึกก้อง แสดงว่า อูติ่งนั้น ใช้การได้แล้ว ส่วนมากครูหมอจะประกอบพิธีตามคำวอนขอของคนที่จะสร้าง (และมักเป็นผู้มีฐานะดี) ...เมื่อได้อูติ่งที่หมอครูประกอบพิธีแล้ว ก็บรรจุใส่ในกระบอกไม้กลึง ตลับสีผึ้งเพื่อรักษาเนื้องาเนื้อไม้ พกติดตัวไปนี่ไปนั้นเป็นเครื่องรางด้านเสน่ห์บางคนเห็นอูติ่งก็เล่าว่า บางถิ่นเรียก "ไอ่ยี่อี่อ่าม" ใช้ดีทางเจรจา ทวงหนี้ วิธีการคือ วางถ้วยแกงผัก กับถ้วยข้าว วางอู่ติ่งไว้ตรงกลาง แล้วเชิญมากินข้าว สักพักก็กล่าวว่า "คนมีสัจจะ ผีมีสัจจะ กินแล้วก็ขอให้ช่วยด้วยนะ
อานุภาพของ อุติ่ง ท่านรองเจ้าอาวาสวัดล้านตอง เชียงใหม่ ท่านได้เมตตาแปลจากตำราโบราณไว้ดังนี้
1. มีไว้กับตัว จักเป็นที่รักใคร่เมตตาเอ็นดูแก่คนและมนุษย์ทั้งหลาย แล เทพเทวดาจะคอยช่วยเหลือเรา
2. ผู้ใดมีไว้กับตัวจักทำการใดก็มิมีอุปสรรคในกิจการงานที่ทำอยู่แล
3. ผู้ใดมีไว้กับตัวแม้นเดินทางใกล้ไกลจักคุ้มครองปลอดภัยให้ไปดีมีลาภแล
4. แม้นทำการค้าขาย ให้แช่น้ำประพรมของขาย จักทำให้ขายคล่องขายดีแล
5. แม้นจักไปติดต่อพบประการงานธุรกิจผู้ใหญ่ เจ้านายให้เมตตาเอ็นดู ขอความช่วยเหลือต่างๆ ให้แช่น้ำส้มป่อย 7 ฝัก แล้วอาบน้ำนั้นก่อนไปแล้วพกติดตัวไปจักสมาความปรารถนาแห่งเราแล
6. ผู้ใดมีไว้กับตัวกับบ้านเรือน หมั่นสวดบูชาด้วยคาถาจะเป็นโภคทรัพย์ ลาภะทรัพย์ ธะนะทรัพย์ เจริญงอกงามด้วยทรัพย์สมบัติ มิมีอดอยาก เสาะแสวงหาทรัพย์สินเงินทองได้โดยงาน ทำมาค้าขึ้น อยู่เย็นเป็นสุขทุกเมื่อแล
เป็นที่รู้กันว่า ชาวไทยใหญ่ผู้ใดมีไว้ต่างหวงแหนยิ่งนัก ถึงขนาดที่ว่า ถ้าตายให้เอาไปฝังกับศพเจ้าของด้วย จึงหลุดออกมาให้พบเห็นกันน้อยมากครับ เป็นมรดกตำนานจากปู่ย่าตายายที่สืบทอดกันมาแต่เก่าก่อนอีกทั้งเป็นงานชิ้นเอกที่บ่งบอกถึงความละเอียด อ่อนช้อยของงานช่างศิลปะไทยใหญ่ได้เป็นอย่างดี
คาถาอาราธนา คือ
“โอมตินนะ ตินนะ หัตติ หัตติ สัตตั๋ง จิ๊นัง จิ๊นัง กับสะหย่ากับ โอม สวา หมุ หุ” ๙ จบ
หมายเหตุ : ขอขอบคุณที่มา จากคุณเชน เชียงใหม่ จากบทความอุติ่ง และ ท่านเจ้าอาวาสวัดล้านตอง สำหรับข้อมูลเรื่องอาณุภาพและคาถาบูชาอุติ่ง ครับ